บทที่ 2 องค์ประกอบของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

องค์ประกอบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
องค์ประกอบอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

             อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่กี่ยวข้องกับธุรกิจหลายประเภท มีการผสมผสานของสินค้าและบริการประเภทต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยผลิตภัณฑ์ของสินค้าและบริการของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะปรากฏในรูปแบบการบริการในธุรกิจต่าง เช่น การบริการนำเที่ยว การบริการขนส่ง การบริการที่พัก เป็นต้น ดังนั้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจึงมีองค์ประกอบของสินค้าและบริการหลายประเภท แบ่งได้เป็น 5 องค์ประกอบ คือ นักท่องเที่ยว ทรัพยากรการท่องเที่ยว การคมนาคมขนส่ง ข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยว และสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว


องค์ประกอบของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 

1. นักท่องเที่ยว





                นักท่องเที่ยว คือ บุคคลที่มีความสำคัญและมีบทบาททางการท่องเที่ยวมากที่สุด เพราะ ถ้าไม่มีนักท่องเที่ยว อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หากแหล่งท่องเที่ยวใดมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาจำนวนมากก็จะส่งผลให้เกิดกิจกรรมทางการท่องเที่ยวและการบริการทางการท่องเที่ยวเกิดขึ้นหลายธุรกิจ ด้วยเหตุนี้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจึงสัมพันธ์กับนักท่องเที่ยว

2.ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว
 






             ทรัพยากรการท่องเที่ยว เป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวและเป็นจุดมุ่งหมายปลายทางที่นักท่องเที่ยวจะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยว ซึ่งทรัพยากรท่องเที่ยวจะเป็นตัวที่ดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวให้เกิดความต้องการเดินทางท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวนั้น ๆ 
             ทรัพยากรการท่องเที่ยวสามารถมีการแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยแบ่งออกเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวส่วนที่เป็นธรรมชาติ และทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น 
ประเทศไทยมีทรัพยากรท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากและมีความหลากหลาย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

         1. ส่วนที่เป็นธรรมชาติ ทรัพยากรการท่องเที่ยวในส่วนที่เป็นธรรมชาติ ทรัพยากรการท่องเที่ยว ในส่วนที่เป็นธรรมชาติ แบ่งออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่ 1) อุทยานแห่งชาติ (National park) 2) วนอุทยาน (Forest park) 3) เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า (Wildlife sanctuary) 4) เขตห้ามล่าสัตว์ป่า (Non hunting area) 5) สวนพฤกษศาสตร์ (Botanical garden) 6) สวนรุกชาติ (Arboretum)




           2. ส่วนที่มนุษย์สร้างขึ้น มีทั้งที่เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ศาสนสถาน โบราณวัตถุโบราณสถาน กาแพงเมือง ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต/ความเป็นอยู่ ศูนย์วัฒนธรรม สินค้าและหัตถกรรมพื้นเมือง เป็นต้น



ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญในภาคต่างๆของประเทศไทย
ประเทศไทยมีพื้นที่ 513 ล้านตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยพื้นที่ 77 จังหวัด แบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค ประกอบด้วย
   1. ภาคเหนือ มีพรมแดนติดต่อกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยลาวและประเทศสหภาพเมียนมาร์ นอกจากจะมีธรรมชาติที่งดงามแล้ว ภาคเหนือตอนล่างยังเป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่นับแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัย ศรีสัชนาลัย กาแพงเพชร ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เนื่องจาก มีความงดงามทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น เป็นตัวแทนของศิลปกรรมสยามยุคแรกและเป็นต้นกำเนิดการสร้างประเทศ
   2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่กว้างใหญ่ถึง 168,854.3 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุม 1 ใน 3 ของพื้นที่ประเทศ มีพรมแดนติดต่อกับประเทศลาวและประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย เป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่แห่งหนึ่งของโลกและเป็นแหล่งที่มีโบราณวัตถุอันแสดงถึงวัฒนธรรมเก่าแก่ได้ชัดเจนสมบูรณ์ รวมทั้งเป็นแหล่งวัฒนธรรม สังคม และวิวัฒนาการ ทางเทคโนโลยีมากว่า 5,000 ปี
   3. ภาคกลาง ปริมณฑลและจังหวัดใกล้เคียงกรุงเทพมหานคร มีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจ เช่น อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา พระราชวังบางประอิน ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การล่องแพ น้าตก หินงอกหินย้อยตามพื้นที่ต่างๆ สะพานข้ามแม่น้าแคว จ.กาญจนบุรี
   4. ภาคตะวันออก นับตั้งแต่จังหวัดชลบุรีไปจนถึงจังหวัดตราด เป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่สวยงาม ทั้งประเภทป่าเขา น้าตก ส่วนแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล เริ่มจากบางแสน พัทยา จังหวัดชลบุรี
   5. ภาคใต้ ภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรระหว่างทะเลอันดามัน และมหาสมุทรอินเดีย หรืออ่าวไทยมีพื้นที่ 70,715.2 ตารางกิโลเมตร เกือบทุกจังหวัดมีอาณาเขตส่วนใดส่วนหนึ่งติดต่อกับทะเล (ยกเว้นยะลาเป็นจังหวัดเดียวที่ไม่มีอาณาเขตติดต่อกับทะเล)

3.การคมนาคมขนส่ง

          


           การคมนาคมขนส่ง จัดว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวไปได้อย่างกว้างขวาง และถือได้ว่าเป็นธุรกิจหนึ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวในการเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ นอกจากนี้อาจกล่าวได้ว่า การคมนาคมขนส่งเป็นธุรกิจที่มีผลกระทบโดยตรงต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เพราะการเดินทางจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากปราศจากการเดินทางขนส่งนักท่องเที่ยวไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ 


4. ข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวและการบริการ








            ข้อมูลข่าวสารมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้น ดังนั้นเพื่อเป็นการให้มีจำนวนของนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวนั้น ตัวการสำคัญคือ จะต้องมีการชักนำให้นักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยว โดยใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำได้โดยการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวและบริการขึ้นมาเพียงพอต่อการท่องเที่ยว การโฆษณาประชาสัมพันธ์ และการให้บริการข้อมูลข่าวสารที่ดีเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวนั้น ๆ เพื่อให้นักท่องเที่ยวมีข้อมูลความรู้ในการเลือกเดินทางท่องเที่ยว ซึ่งเป็นการสร้างความประทับใจต่อนักท่องเที่ยวอย่างหนึ่ง ว่านักท่องเที่ยวนั้นจะได้รับข้อมูลที่ดีและเป็นประโยชน์ในการเดินทางท่องเที่ยว


5. สิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว






         สิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว หรือโครงสร้างพื้นฐานทางการท่องเที่ยว เป็นองค์ประกอบที่สนับสนุนให้การท่องเที่ยวสามารถดำเนินไปได้ด้วยดี ตัวอย่างเช่น การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวต้องใช้เรื่องการคมนาคมขนส่ง จึงจำเป็นต้องมีธุรกิจขนส่งเข้ามาเกี่ยวข้อง การต้องการความปลอดภัยจากการเดินทางท่องเที่ยว การต้องการเครื่องใช้สาธารณูปโภคต่าง ๆ การต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร และที่พัก ซึ่งสิ่งอำนวยความสะดวกที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เป็นสิ่งสำคัญและเป็นตัวสนับสนุนให้การท่องเที่ยวพัฒนาไปด้วยดี อาจกล่าวได้ว่า แหล่งท่องเที่ยวใดที่ขาดโครงสร้างพื้นฐานหรือสิ่งอำนวยความสะดวกจะส่งผลต่อความสนใจในแหล่งท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวและนักลงทุนลดน้อยลง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จุดประสงค์รายวิชา เพื่อให้ 1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการเบื้องต้นพื้นฐานงานอุตสาหกรรมท่องเที่ยวองค์ประกอบ 2. ปัจจัยสนับสนุน...